The outcome of pharmacists' interventions on dose adjustment in hospitalized patients with renal impairment on cost saving and cost avoidance
Abstract

The outcome of pharmacists' interventions on dose adjustment in hospitalized patients with renal impairment on cost saving and cost avoidance
Rachanont Hiranwong, Thanapon Jantarangsri, Kanchana bunsoot, Phutthimon Howattanapun

Abstract
Objective
This study aims to evaluate the cost saving and cost avoidance from Adverse Drug Reaction Prevention by  providing  appropriate information on drug dosage adjustment for hospitalized patients with renal impairment by the pharmacists.

Method
The study was descriptive design using one group one measurement, and was prospectively conducted in hospitalized patients with renal impairment and creatinine clearance < 60 ml/min who admitted between July and October 2014.

Result
All 106 renal impairment patients with 127 prescribings require 74 time for pharmacists’ interventions on proper drug dose adjustment; 66 (89%) times doctor accepting. For 16,721.34 baht (522.54 USD) on drug cost saving and 49,354.80 baht (1,542.34 USD) on adverse drug reaction cost avoidance. Totally cost saving are 66,076.14 baht (2,064.88 USD); 1,001.15 baht (31.29 USD) per intervention.

Conclusion
It was concluded that pharmacists could provide appropriate information on drug dosage adjustment for hospitalized patient with renal impairment and save drug cost.

บทคัดย่อ
ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จากการให้ข้อมูลขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

ที่มาของปัญหา: หลังจากการดำเนินงานให้ข้อมูลขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง ได้มีการประเมินผลงานพบว่ามีผู้ป่วยได้รับขนาดยาที่เหมาะสมกับการทำงานของไตเพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัยจากการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากงานนี้ต้องใช้เภสัชกรปฏิบัติงานถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งค่อนข้างมากสำหรับงานที่เป็นการดำเนินการเพิ่มมาจากงานพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารอัตรากำลังของเภสัชกร จึงจำเป็นต้องมีการประเมินความคุ้มค่าในแง่ของค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงมูลค่ายาที่ประหยัดได้ และค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จากการป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยการให้ข้อมูลขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องโดยเภสัชกร
วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบพรรณนา แบบกลุ่มเดียวและวัดครั้งเดียว เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีค่าการชำระครีเอตินินน้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ตุลาคม 2557
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยจำนวน 106 ราย มีการสั่งใช้ยา 127 ครั้งที่จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับการทำงานของไต โดยเภสัชกรได้ให้ข้อมูลขนาดยากับแพทย์เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสมจำนวน 74 ครั้ง โดยแพทย์เห็นด้วยและปรับขนาดยาให้เหมาะสมจำนวน 66 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 89 สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาได้รวม 16,721.34 บาท และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จากการป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารวม 49,354.80 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้รวม 66,076.14 บาท คิดเป็น 1001.15 บาท/ครั้ง
บทสรุป: การให้ข้อมูลขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องโดยเภสัชกรสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้